รีวิวTwenty Five Twenty One

รีวิวTwenty Five Twenty One

[section label=”H1″]

รีวิวTwenty Five Twenty One  เมื่อโตขึ้นในระดับหนึ่งก็เริ่มจะมีความฝัน มีแรงบันดาลใจ อยากทำนั่น อยากทำนี่ เรื่องเหล่านี้มักเกิดขึ้นในช่วงหนึ่งของชีวิต ช่วงที่ยังเป็นหนุ่มสาว ช่วงที่กำลังค้นหาตัวเอง แต่ถ้าช่วงนั้น สภาพแวดล้อมมันไม่ได้เอื้อต่อความฝันของพวกเขาเท่าที่ควรล่ะ มันจะเป็นอย่างไร เราจะพาทุกคนไปค้นหาและมาลุ้นไปพร้อมๆกันว่าพวกเขา เหล่านั้นจะทำตามความฝันของตัวเองได้สำเร็จหรือไม่ กับ  ซีรีส์ในดวงใจใครหลายคน พูดถึงวัยรุ่นที่ได้รับผลกระทบจากวิกฤติเศรษฐกิจที่มีชื่อว่าวิกฤติต้มยำกุ้งในช่วงปี 2541 หรือ 1998 มาเล่าคู่ขนานกับวิกฤติโควิด 19 (Covid-19) ได้อย่างลงตัว   ดูหนังออนไลน์ 4k

เป็นหนึ่งในเรื่องที่ได้รับการตอบรับอย่างดีมาก ๆ กับผู้ชมในเกาหลี ด้วยเรื่องย้อนยุคชวนยิ้ม แต่ก็ยังมีประเด็นที่น่าสนใจเชื่อมโยงได้กับคนดูปัจจุบัน ด้วยเรื่องที่สะท้อนสมัยปลายยุค 90s เมื่อเกาหลีใต้เผชิญวิกฤต IMF ผ่านตัวละครได้อย่างล้ำลึก  รีวิวซีรี่ย์ดราม่า

[title style=”center” text=”รีวิวTwenty Five Twenty One” tag_name=”h1″]

[ux_video url=”https://www.youtube.com/watch?v=B1-HXPccaxk”]

[/section]
[section label=”H2.1″]

[title style=”center” text=”รีวิว twenty five twenty one ความฝันท่ามกลางวิกฤต” tag_name=”h2″]

ย้อนกลับไปช่วงเวลาที่วิกฤต IMF แผลงฤทธิ์ที่เกาหลีใต้ บอกเล่าเรื่องราวของกลุ่มคนที่ยุคสมัยและเศรฐกิจโขมยความฝันและอนาคตไป ผ่านตัวละคร ‘นาฮีโด’ (รับบทโดย คิมแทรี) เด็กสาวที่กำลังตามความฝันของการเป็นนักฟันดาบ แต่ชมรมของเธอถูกปิดลงเพราะวิกฤติเศรษฐกิจ ที่ได้พบกับ ‘แพคอีจิน’ (รับบทโดย นัมจูฮยอก) ชายหนุ่มที่สูญเสียทุกอย่างไปเพราะเหตุเดียวกัน พวกเขาจึงเป็นกำลังใจให้กันในวันที่ต้องต่อสู้เพื่อตามความฝันและอนาคตที่ยุคสมัยพรากไปคืนมา

ถึงแม้จะเป็นเรื่องในอดีต แต่ความรู้สึกของการโดนปล้นอนาคตที่สดใสไปอาจจะรู้สึกไม่ไกลตัวนัก ด้วยสถานการณ์โควิด-19 ที่ส่งผลให้เศรฐกิจย่ำแย่จนหลายคนต้องละทิ้งความฝันและอนาคตของตัวเองชั่วคราว หรือสำหรับอีกหลายคนอาจจะเป็นตลอดไป แต่สิ่งหนึ่งที่ซีรีส์ไม่ลืมที่จะนำเสนอคือเมื่อยุคสมัยพรากความฝันของใครสักคนไป มันอาจจะทำให้ความฝันของใครสักคนเป็นจริงขึ้นมาเช่นกัน เหมือนกับในเรื่องที่นาฮีโดประสบความสำเร็จได้ แม้จะด้วยความสามารถของตัวเธอเอง แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้ว่ายุคสมัยนั้นและความเพลี่ยงพล้ำต่อชีวิตของคนอื่น ได้ทำให้เธอกลายเป็นแชมป์อย่างที่เธอเป็น

[ux_image id=”5952″]

หากเราสังเกตดูนาฮีโด แพคอีจิน และโกยูริม คล้ายกับจะเป็นบุคลาอธิษฐาน (Personification) ของประเทศเกาหลีใต้ เพราะผู้ชมสามารถเห็นการดิ้นรนที่จะฟื้นจากพิษเศรษฐกิจของเกาหลีใต้ผ่านตัวละครสามตัวนี้

นาฮีโดที่กำลังอยู่ในช่วงขาลงของการเป็นนักกีฬาฟันดาบ ก่อนที่วิกฤติ IMF จะทำให้เธอต้องลุกขึ้นมาเปลี่ยนแปลงตัวเองจนประสบความสำเร็จได้ในที่สุด เป็นเสมือนภาพแทนของบริษัทที่จากเดิมที่กำลังเผชิญช่วงตกต่ำ แต่เมื่อเจอเข้ากับ IMF พวกเขาก็ลุกขึ้นมาเปลี่ยนแปลงจนพลิกเป็นผู้นำได้

อีริค คิม รองประธานบริหารฝ่ายการตลาดกล่าวว่า บริษัทในตอนนั้นขึ้นอยู่กับปริมาณการผลิตและส่วนแบ่งตลาด ไม่ใช่การทำกำไรและเทคโนโลยี และถ้าไม่มี IMF ก็คงไม่มีการเปลี่ยนแปลงเหล่านั้น เขากล่าวว่า “วิกฤติ IMF บังคับให้เราต้องทำการเปลี่ยนแปลง เรารู้แล้วว่าเราไม่สามารถแข่งขันด้านราคาในตลาดล่างได้อีกต่อไป เราต้องพัฒนา แบรนด์ ดีไซน์ และ เทคโนโลยี”

การพลิกกลับมาเป็นผู้นำของนาฮีโดในเรื่องนั้นจึงชวนให้นึกถึงการที่ ในหลายครั้ง วิกฤตได้กลายมาเป็นโอกาสให้เรามาทบทวนตัวเองและพลิกชีวิตกลับมาได้อีกครั้ง เหมือนที่ซัมซุงพ้นจากทั้งวิกฤตเศรษฐกิจ และช่วงตกต่ำมาได้อย่างสวยงาม

[/section]
[section label=”H2.2″]

[title style=”center” text=”รีวิวTwenty Five Twenty One เรื่องราวลุ้นระทึก” tag_name=”h2″]

สำหรับอีเวนต์ใหญ่ในซีรีส์คงหนีไม่พ้นเอเชียนเกมส์ปี 1999 ที่กวังจู ซึ่งเป็นเหตุการณ์ที่สมมติขึ้นนะครับ เพราะของจริงคือเอเชียนเกมส์ปี 1998 จัดที่กรุงเทพมหานคร แต่ซีรีส์ก็เลี่ยงบาลีและจินตนาการขึ้นใหม่เพื่อจะได้ชี้ให้เห็นผลกระทบของวิกฤติ IMF ได้ชัดเจนขึ้น

ซึ่งเหตุการณ์นี้จะกินเวลาทั้งสิ้น 3 ตอนได้แก่ตอนที่ 5-7 ซึ่งสร้างสถานการณ์ชวนบีบหัวใจมากมายทั้งการที่ต้องลุ้นให้นาฮีโดไปแข่งให้ทันหลังจากพบว่าดาบของเธอสลับกับคู่แข่งชาวญี่ปุ่นหรือผลกระทบหลังการแข่งขันที่บอกได้เลยว่าชวนใจสลายมาก ๆ

น่าแปลกใจว่าในเนื้อเรื่องที่แม้จะเน้นไปที่ความรักและความทรงจำยุค 90s แต่มันกลับสอดแทรกเนื้อหาที่กล่าวถึงการทำหน้าที่สื่อมวลชนได้ชวนถกเถียงมาก ๆ เพราะไม่ว่าจะสมัยไหนสงครามข้อมูลข่าวสารก็มีคนที่ตกเป็นเหยื่อเสมอและในซีรีส์ก็ให้ตัวละครนำเป็นทั้งเหยื่อและสื่อมวลชน ซึ่งซีรีส์ถ่ายทอดเรื่องราวในส่วนนี้ออกมาได้ลึกซึ้งมากๆ

[ux_image id=”5957″]

อีกเหตุการณ์ที่เพิ่งผ่านไปในตอนล่าสุดคือการหยิบยกความรุนแรงในโรงเรียนที่ทำให้ จีซึงวาน ไม่อาจเพิกเฉยต่อปัญหาแต่กลับเจอการตอกกลับจากเจ้าหน้าที่ตำรวจที่ทำให้เธอพบว่าเยาวชนช่างมีสิทธิเสรีภาพในร่างกายน้อยเหลือเกินจนนำไปสู่บทสรุปที่เชื่อเลยว่าจะทำให้หัวใจคนดูสั่นสะเทือนแน่นอน

นอกจากนี้การไล่ล่าเหรียญทองของนาฮีโดในเรื่องก็ชวนให้นึกถึงโครงการสะสมทองที่รัฐบาลเกาหลีใต้จัดขึ้นเพื่อรับบริจาคทองจากประชาชนมาบรรเทาหนี้ที่กู้มากว่าห้าหมื่นแปดพันล้านดอลลาร์ ที่ถูกพูดถึงในตอนแรกของเรื่องเมื่อนาฮีโดถามถึงแหวนแต่งงานของพ่อ

โครงการนี้คล้ายกับการล่าเหรียญทองจากการฟันดาบของนาฮีโดตรงที่เป็นสิ่งที่กระตุ้นความเป็นหนึ่งเดียวกันและความรักชาติ เหมือนทุกครั้งที่ได้ดูกีฬาและเห็นธงชาติปลิวสไวอยู่เหนือใครนั่นเอง

[/section]
[section label=”H2.3″]

[title style=”center” text=”ทีมนักแสดงและการแสดง” tag_name=”h2″]

สำหรับนักแสดงนำอย่าง คิมแทรี เราคงไม่ต้องสาธยายให้มากความเพราะนี่คือซีีรีส์เรื่องที่ 2 หลังการร่วมงานกับ Netflix ผู้ช่วยผู้กำกับและควอนโดอึนหนึ่งในทีมเขียนบทจากซีรีส์เรื่องดังกล่าวตัดสินใจทักทอเรื่องราวสุดประทับใจและให้คิมแทรีมารับบทนาฮีโดที่เชื่อว่าใครได้ดูก็ยากจะไม่ตกหลุมรักและเอาใจช่วยเธอทั้งในด้านกีฬาฟันดาบที่ล่าสุดได้ทำให้เกิดกระแสฟีเวอร์ทั้งในไทยและเกาหลีไปเรียบร้อย

ส่วนนักแสดงสมทบก็ครบเครื่องทั้งความสวยหล่อและฝีมืออย่าง คิมจียอน อดีตสมาชิกวง ‘WJSN’ และ ‘Wonder Unit’ ก็รับบทโกยูริม แชมป์เหรียญทองฟันดาบที่ครบเครื่อง หรือจะเป็น ชเว ฮยอนอุก

ละเอ็มวีพีที่ทำให้หลายคนพูดถึงก็คือ อีจูมยอง ที่รับบทจีซึงวาน หัวหน้าห้องที่เพิ่งทำให้ผู้ชมหัวใจอ่อนปวกเปียกและอดปรบมือให้เธอไม่ได้

[ux_image id=”5955″]

เรื่องการแสดง เรื่องนี้ไม่มีอะไรจะติเหมือนกัน เพราะนักแสดงเล่นได้ดีทุกคนจริงๆ คิมแทรี ที่รับบทเป็นนาฮีโด ก็ตีบทแตกจริงๆ พระเอกอย่าง นัมจูฮยอก ที่รับบทเป็น แพคอีจินเรื่องนี้ฝีมือเขาพัฒนาขึ้นกว่าเดิม เหมาะกับบุคลิกของตัวละครด้วย คือดูเป็นคนที่แบกทุกอย่างไว้กับตัวเอง โดยเฉพาะฉากดราม่า  แววตาที่พี่แกแสดงออกมา  ถือว่าแสดงได้ดีแล้ว แต่สามารถพัฒนาให้ดีกว่านี้ได้อีก คงต้องรอติดตามพัฒนาการของเขาในซีรีส์เรื่องอื่นๆในอนาคต

ส่วนนักแสดงคนอื่นๆในเรื่อง ก็แสดงได้ดีทุกคน ทุกคนเล่นได้สมบทบาท และตีบทแตกกันหมด ไม่มีอะไรจะติเลย

[/section]
[section label=”H2.4″]

[title style=”center” text=”เรื่องราวระหว่างยุคสมัย” tag_name=”h2″]

จุดเด่นของเรื่องคือการกำหนดให้เรื่องราว 2 ยุคที่ถูกเล่าตัดสลับกันมีเหตุการณ์ร่วมสมัยเกิดขึ้นทั้งวิกฤตเศรษฐกิจที่ในซีรีส์ใช้ชื่อว่า “วิกฤติ IMF” เพื่อบอกเงื่อนไขอะไรหลาย ๆ อย่างในปี 1998 ซึ่งเหล่านี้เองก็เอื้อให้ซีรีส์ได้ย้อนตะเข็บเส้นเวลานำเหตุการณ์ละอันพันละน้อยที่เข้ามากระทบกับชีวิตผู้คนในยุคนั้นมานำเสนอได้อย่างเห็นภาพและช่วยให้เรื่องราวเข้มข้นขึ้นมากมายเหลือเกิน

โดยที่ไม่ต้องสังเกตซีรีส์ก็มีธีมอันว่าด้วย ‘ระยะห่าง’ ที่ถูกใช้บ่อยเหลือเกินทั้งในแง่กีฬาฟันดาบ ความสัมพันธ์ระหว่างครอบครัว หรือเรื่องชนชั้นของนักเรียนในเรื่อง ไปจนถึงระยะห่างทางอาชีพระหว่างนักข่าวกีฬาอย่างแบ็คอีจินกับนาฮีโด ที่ซีรีส์สามารถหยิบยกเหตุการณ์วิกฤติIMFในเรื่องมาเป็นเงื่อนไขที่ทำให้ตัวละครต้องมีระยะห่างกันได้อย่างเหมาะเหม็งและเราก็ต้องคอยลุ้นให้ระยะห่างดังกล่าวกระชับขึ้นให้ได้

[ux_image id=”5954″]

ในขณะที่ปี 2022 แม้จะถูกตั้งไว้เพื่อเป็นโจทย์ให้คนดูติดตามไปถึงตอนจบว่าแท้จริงแล้วและแม้จะพอถูไถได้ว่าซีรีส์เลือกสถานการณ์โควิดมาแค่จะคงธีมรักษาระยะห่างทางสังคมหรือการเอาเรื่องการกักตัวมาให้คนดูลุ้นเรื่องพ่อของคิมมินแชเท่านั้น หากแต่มันก็ไม่ได้ถูกนำเสนอแบบกลวงโบ๋เสียทีเดียวเพราะการยกเอาวิกฤติโรคระบาดอย่าง โควิด 19 (Covid-19)

มาเปรียบเปรยก็ช่างเชื่อมโยงให้ผู้ชมที่เกิดไม่ทันสามารถเข้าใจสถานการณ์และอารมณ์ร่วมของยุคสมัยเชื่อมต่อกับเหล่าวัยรุ่นยุค IMF ได้เป็นอย่างดีและยังเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้พวกเราต้องลุ้นกันว่านอกจากนาฮีโดแล้วเหล่าวัยรุ่นยุค IMF เติบโตมาอย่างไรบ้างซึ่งเหล่าตัวละครแวดล้อมก็ค่อย ๆ ทำให้เรารักพวกเขามากขึ้นเรื่อย ๆ เสียด้วย

อุปกรณ์สื่อสารบนหัวข้อก็ถูกนำเสนอในหนังหรือซีรีส์ที่พูดถึงยุค 90s มามากมายแล้ว หากแต่ กลับนำอุปกรณ์การสื่อสารเหล่านี้มาเล่าได้อย่างมีประสิทธิภาพและไม่ใช่แค่กิมมิกไว้ขายดักแก่เท่านั้น แต่ของแต่ละอย่างก็มีเรื่องราวที่ผูกโยงตัวละครต่างกันและสามารถส่งเสริมการเล่าเรื่องได้เป็นอย่างดี

[/section]
[section label=”H3.1″]

[title style=”center” text=”รีวิวTwenty Five Twenty One”]

การพลิกกลับมาเป็นผู้นำของนาฮีโดในเรื่องนั้นจึงชวนให้นึกถึงการที่ ในหลายครั้ง วิกฤตได้กลายมาเป็นโอกาสให้เรามาทบทวนตัวเองและพลิกชีวิตกลับมาได้อีกครั้ง เหมือนที่ซัมซุงพ้นจากทั้งวิกฤตเศรษฐกิจ และช่วงตกต่ำมาได้อย่างสวยงาม

ไม่ใช่แค่เรื่องราวเกี่ยวกับความรักและความฝันของวัยรุ่นเท่านั้น หากจะจริงจังไปถึงเรื่องยุคสมัย เรื่องราวที่เล่าย้อนไปยังวันเก่าช่วง 90’s มีตัวละครต่างช่วงวัยที่มีความเกี่ยวข้องกัน โดยมีความรักระหว่างตัวละครคอยผลักดันได้เรื่องดำเนินไป พร้อมๆ กับความฝัน ความมุ่งมั่นตั้งใจ ที่ต้องผ่านพ้นอุปสรรคต่างๆ นานา ระหว่างทางอาจได้พบเจอกับบทเรียนที่เป็นบททดสอบ ไดอะล็อกที่สะเทือนใจจนต้องมีน้ำตา และไดอะล็อกที่สร้างเสริมกำลังใจ จากปากของเหล่านักแสดงที่ทั้งสวย-หล่อ และทำหน้าที่แสดงกันอย่างเต็มความสามารถ

[ux_image id=”5956″]

ทีมงานใส่ใจในการสร้างฉากและสภาพแวดล้อมในยุค 90’s ค่อนข้างมาก ไม่ว่าจะเป็นสภาพของโรงเรียน บ้านเรือนที่เป็นโลเกชันแล้ว เพลงประกอบก็ทำออกมาในสไตล์ 90’s ทั้งสิ้น เพลงที่ใช้ในการดำเนินเรื่อง เพลงที่ตัวแสดงต้องเต้นกัน อุปกรณ์ต่างๆ ที่พวกเขาใช้ รวมไปถึงโปรแกรมแชท ก็ล้วนทำให้ย้อนนึกถึงช่วงเวลาในอดีตที่เคยผ่านมาทั้งสิ้น

ถือเป็นซีรี่ย์อีกหนึ่งเรื่องที่กำลังมาแรงสำหรับยุคนี้ที่เปลี่ยนยุคเปลี่ยนผ่านสำหรับหนุ่มสาววัยกลางคนหรือเด็กวัยรุ่นที่ต้องประสบพบเจอกับเหตุการณ์ที่อาจจะไปไม่ถึงฝัน เป็นเรื่องที่น่าติดตามมากๆเลยค่ะ แนะนำว่าไม่ควรพลาดเลยจริงๆกับซีรี่ย์เรื่องนี้

[/section]
[section label=”H3.2″]

[title style=”center” text=”บทสรุปจากผู้เขียน”]

สิ่งหนึ่งที่ทำให้คนดูรู้สึกเชื่อมโยงได้ไม่ยากอย่างแน่นอนคือความรู้สึกของการโดนพรากเอาความหวังและความฝันไป จริงอยู่ว่าเศรฐกิจที่แข็งแรงของเกาหลีใต้ โดยรวมไม่ได้โดนกระทบจนเป๋เท่าอีกหลาย ๆ ประเทศในโลกและกำลังฟื้นตัวได้ดี แต่ก็มีคนอีกมากมายที่ได้รับผลกระทบทั้งทางการเงิน หรือทางจิตใจ คล้ายกับสิ่งที่เกิดขึ้นในช่วงวิกฤต IMF ที่แม้ตัวละครบางตัวจะยังมีกินอยู่สบาย แต่สุดท้ายผลกระทบทางเศรฐกิจก็สามารถชิ่งมากระทบพวกเขาได้ในทางใดทางหนึ่ง ซึ่งอาจจะทำให้ผู้ชมรู้สึกเชื่อมโยงได้ง่ายขึ้น

[ux_image id=”5957″]

วิกฤตเศรฐกิจส่งผลกระทบต่อการวางอนาคต การตัดสินใจมีคนรัก ตัดสินใจจะแต่งงาน หรือจะมีลูกหรือไม่อย่างมาก สังเกตได้จากอัตราการแต่งงานและผลโพลต่าง ๆ ที่ชี้ไปในทิศทางเดียวกันว่าคนเกาหลีใต้นั้นเลือกที่จะไม่มีคู่ ส่วนหนึ่งเพราะความไม่พร้อมหลาย ๆ อย่าง และความต้องการที่จะก้าวหน้าในอาชีพไปในทิศทางของตัวเอง

การเชื่อมโยงสู่ปัจจุบันถูกเน้นย้ำด้วยตัวละคร คิมมินแช ลูกของนาฮีโดเพราะปัญหาที่เธอกำลังเผชิญนั้นเป็นปัญหาเดียวกันกับที่คนรุ่นแม่เผชิญหมุนวนมาอีกครั้ง ทั้งความรู้สึกในช่วงตกต่ำและความรู้สึกกดดันที่จะต้องประสบความสำเร็จตั้งแต่อายุน้อยก็ทำให้คิมมินแชเหมือนเป็น personification ของเกาหลีใต้ในปัจจุบันเช่นกัน

และการที่เกาหลีใต้ไม่ใช่ประเทศเดียวที่กำลังเผชิญหน้ากับเหตุการณ์เหล่านี้แต่เป็นคนทั่วโลกและเป็นอีกครั้งที่พิสูจน์การใช้ soft power ของเกาหลีใต้เพื่อปลอบโยนหัวใจของผู้คนเมื่อได้พบกับวิกฤตสร้างขวัญและกำลังใจให้กับผู้ชมว่าไม่ว่ายุคสมัยจะพรากความฝันไปจากผู้คนอีกกี่ครั้งแต่เกาหลีใต้จะสามารถลุกขึ้นมาอย่างสง่างามได้เสมอ

[/section]